โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้(ง 40208)

โครงงานความลับของช็อคโกแลต
จัดทำโดย นางสาวสุพร ช่วยศิริ
ครูที่ปรึกษา พ่อครูคเชนทร์ กองพิลา
ชื่อ ความลับของช็อกโกแลต

1 จริงหรือที่ช็อกโกแลตเป็นสื่อกลางองวามรักและความสุข

2 กินช็อกโกแลตแล้วจะทำให้อ้วนจริงหรือ

3 ช็อกโกแลตมีประโยชน์จริงหรือเปล่า

เหตุผล ทำไมในช่วงวันวาเลนไทน์หรือวันแห่งความสุข ทุกคนจึงชอบมอบช็อกโกแลตให้กัน นอกจากของขวัญแล้วยังมีช็อกโกแลตอีกอย่างที่เป็นสากลที่นิยมมอบให้คนที่ตนเองรัก และช็อกโกแลตยังมีประโยชน์มากมายด้านสุขภาพด้วย

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

หน้าที่พลเมือง

หน้าที่ของพลเมืองดี
พลเมืองดี หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และกิจที่ควรทำ
หน้าที่ หมายถึง กิจที่ต้องทำ หรือควรทำ เป็นสิ่งที่กำหนดให้ทำ หรือห้ามมิให้กระทำ ถ้าทำก็จะก่อให้เกิดผลดี เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือสังคมส่วนรวมแล้วแต่กรณี ถ้าไม่ทำหรือไม่ละเว้นการกระทำตามที่กำหนดจะได้รับผลเสียโดยตรง คือ ได้รับโทษ หรือถูกบังคับ เช่น ปรับ จำ คุก หรือประหารชีวิต เป็นต้น โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ต้องทำ ได้แก่ กฎหมาย เป็นต้น
กิจที่ควรทำ คือ สิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ หรือละเว้นการกระทำ ถ้าไม่ทำหรือละเว้นการกระทำ จะได้รับผลเสียโดยทางอ้อม เช่น ได้รับการดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือไม่คบค้าสมาคมด้วย ผู้กระทำกิจที่ควรทำจะได้นับการยกย่องสรรเสริญจากคนในสังคม โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ควรทำ ได้แก่วัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น
พลเมืองดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาติคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครู อาจารย์ มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน รู้จักรับผิดชอบชั่วดีตามหลักจริยธรรม และหลักธรรมของศาสนา มีความรอบรู้ มีสติปัญญาขยันขันแข็ง สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

โพสท์ใน Uncategorized | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

หลักการจัดดอกไม้

1. หน้าที่และประโยชน์ใช้สอย ก่อนจัดควรจะทราบวัตถุประสงค์ในการจัดตกแต่งก่อนว่า จะใช้ในงานอะไร และจะจัดวางที่ไหน เช่น วางกลางโต๊ะ วางมุมโต๊ะ ชิดผลัก หรือแจกันติดผนัง เป็นต้น และควรดูด้วยว่า ลักษณะของห้องที่จะจัดวางเป็นห้องลักษณะแบบใด ทรงใด และขนาดเล็ก ปานกลางหรือใหญ่ เพื่อเราจะได้เลือกแจกันและดอกไม้ที่เหมาะสมกับห้องนั้น ๆ ด้วย

2. สัดส่วน สัดส่วนเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จะกำหนดว่าแจกันที่จัดเสร็จจะสวยหรือไม่สวย ถ้าสัดส่วนไม่สมดุลย์แจกันที่จัดออกมาก็ไม่สวย สิ่งที่ต้องคำนึง

2.1 ภาชนะทรงเตี้ย ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของความกว้างของภาชนะ

2.2 ภาชนะทรงสูง ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของความสูงของภาชนะ

3. การเทียบส่วน ระหว่างดอกไม้กับแจกัน, แจกันกับขนาดของห้อง

4. ความสมดุลย์ เป็นความถ่วงดุล เช่น ซ้ายขวาเท่ากัน หรือ สองข้างไม่เท่ากันแต่หนักไปทางใดทางหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้จัด

5. การเลือกสี เส้นและขนาดให้แตกต่าง กัน เช่น สีกลาง อ่อน เส้นที่โค้งเรียว ขนาดดอกมีใหญ่เล็กเป็นต้น

6. ความกลมกลืน คือ การเข้ากันอย่างสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ

7. ความแตกต่าง เช่น สีของดอก ใบ และภาชนะที่มีสีแตกต่างกัน แต่ความแตกต่างไม่ควรเกิน 20%

8. การสร้างจุดเด่น คือ จัดให้มีตัวเด่น ตัวรอง และให้มีการส่งเสริมกันและกัน

โพสท์ใน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีสารสนเทศ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

คณะยอดฮิต(ม.ศ.ว.)

3คณะยอดฮิตแอดมิชชั่น52

ประมาณต้นเดือน มิ.ย.ของทุกปี เฟรชชี่คงเข้ามหาวิทยาลัยกันเรียบร้อยแล้ว สำหรับปีนี้ คณะและมหาวิทยาลัยในฝัน ที่ครองใจน้อง ๆ มัธยมปลาย จะเป็นอะไรบ้างนั้น Edutainment Zone พาไปเปิดบ้านกัน

แอดมิชชั่น ปีการศึกษา 2552 ที่ผ่านมา มีผู้สมัครสมัครทั้งสิ้น 119,446 คน ผ่านการคัดเลือก และมีสิทธิสอบสัมภาษณ์ ตรวจร่างกาย 82,576 คน สำหรับคณะและสาขาวิชาที่มีผู้สมัครเลือกมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) 4,285 คน ตามติดด้วย คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) 3,030 คน และรั้งอันดับ 3 ที่คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 2,598 คน

สำหรับการเรียนในรั้ว ‘สังคมศาสตร์’ (Faculty of Social Sciences) นั้น เป็นสาขาวิชาที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หน่วยสังคม รวมทั้งพฤติกรรมในแง่มุมต่าง ๆ มีสาขาหลัก ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา เป็นต้น

ส่วนแนวทางประกอบอาชีพนั้น อาทิ นักวิชาการ นักจิตวิทยา นักปฏิบัติการตามความต้องการของวงการธุรกิจอุตสาหกรรม การเกษตร การศึกษา และการพัฒนาชุมชน นักวิจัย นักวางแผนหรือวิเคราะห์นโยบาย รวมทั้งงานในภาคธุรกิจที่ต้องใช้องค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ เช่น ธุรกิจการเงินและธนาคาร สื่อสารมวลชน การท่องเที่ยวและบริหาร การค้าระหว่างประเทศและธุรกิจพาณิชย์อื่น ๆ ทั่วไป

โพสท์ใน วิชาแนะแนว | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

สารคอลลอยด์

คอลลอยด์เป็นของผสมที่ประกอบด้วยอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-7เชนติเมตร ถึง 10-4 เซนติเมตร โดยกระจายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกลาง ตัวอย่างเช่น น้ำนม น้ำสลัด น้ำแป้งสุก หมอก ควันไฟ

สมบัติสำคัญของคอลลอยด์
1. สามารถ กระเจิงแสงได้ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฎการณ์ทินดอลล์
2. คอลลอยด์ ไม่ตกตะกอน
3. เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 10-7 เชนติเมตร ถึง 10-4 เซนติเมตร
4.เมื่อส่องดูด้วยเครื่องมือ ที่เรียกว่า อัลตราไมโครสโคป(Ultramicroscope)จะพบว่าอนุภาคมีการเคลื่อนที่แบบบราวเนียน (Brownion Movement) คือเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง ไม่มีทิศทางแน่นอน

โพสท์ใน วิชาวิทยาศาสตร์ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายไม่ได้หมายถึงการต้องไปแข่งขันกีฬากับผู้อื่น แต่การออกกำลังกายเป็นการแข่งขันกับตัวเอง

หลายคนก่อนจะออกกำลังกายมักจะอ้างเหตุผลของการไม่ออกกำลังกาย เช่น ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ปัญหาเกี่ยวกับอากาศ ทั้งหมดเป็นข้ออ้างที่จะไม่ออกกำลังกาย แต่ลืมไปว่าการออกกำลังกายอาจจะให้ผลดีมากกว่าสิ่งที่เขาเสียไป

เป็นที่น่าดีใจว่าการออกกำลังให้สุขภาพดีไม่ต้องใช้เวลามากมาย เพียงแค่วันละครึ่งชั่วโมงก็พอ และก็ไม่ต้องใช้พื้นที่หรือเครื่องมืออะไร มีเพียงพื้นที่ในการเดินก็พอแล้ว การออกกำลังจะทำให้รูปร่างดูดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคอ้วน การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่น มีพลังที่จะทำงานและต่อสู้กับชีวิต นอกจากนั้นยังสามารถลดความเครียดได้ด้วย

โพสท์ใน วิชาสุขศึกษา พลศึกษา | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

สีและความรู้สึก

สีก็มีผลต่อความรู้สึกของคนเราได้นะคะ ลองมาดูกันสิว่าสีอะไร จะส่งผลต่อความรู้สึกของเราอย่างไรบ้าง

สีแดง ให้ความรู้สึกร้อน รุนแรง กระตุ้น ท้าทาย เคลื่อนไหว ตื่นเต้น เร้าใจ มีพลัง ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง ความรัก ความสำคัญ อันตราย
สีส้ม ให้ความรู้สึกร้อน ความอบอุ่น ความสดใส มีชีวิตชีวา วัยรุ่น ความคึกคะนอง การปลดปล่อย ความเปรี้ยว การระวัง
สีเหลือง ให้ความรู้สึกแจ่มใส ความสดใส ความร่าเริง ความเบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่ ความสด ใหม่ ความสุกสว่าง การแผ่กระจาย อำนาจบารมี
สีเขียว ให้ความรู้สึกสงบ เงียบ ร่มรื่น ร่มเย็น การพักผ่อน การผ่อนคลาย ธรรมชาติ ความปลอดภัย ปกติ ความสุข ความสุขุม เยือกเย็น
สีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม เอาการเอางาน ละเอียด รอบคอบ สง่างาม มีศักดิ์ศรี สูงศักดิ์ เป็นระเบียบถ่อมตน
สีม่วง ให้ความรู้สึกมีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ ซ่อนเร้น มีอำนาจ มีพลังแฝงอยู่ ความรัก ความเศร้า ความผิดหวัง ความสงบ ความสูงศักดิ์
สีฟ้า ให้ความรู้สึกปลอดโปร่งโล่ง กว้าง เบา โปร่งใส สะอาด ปลอดภัย ความสว่าง ลมหายใจ ความเป็นอิสระเสรีภาพ การช่วยเหลือ แบ่งปัน
สีขาว ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ สะอาด สดใส เบาบาง อ่อนโยน เปิดเผย การเกิด ความรัก ความหวัง ความจริง ความเมตตา ความศรัทธา ความดีงาม สีความรู้สึก มืด สกปรก ลึก
สีชมพู ให้ความรู้สึกอบอุ่น อ่อนโยน นุ่มนวล อ่อนหวาน ความรัก เอาใจใส่ วัยรุ่น หนุ่มสาว ความน่ารัก ความสดใส
สีเทา ให้ความรู้สึกเศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ ความหดหู่ ความชรา ความสงบ ความเงียบ สุภาพ สุขุม ถ่อมตน
สีทอง ให้ความรู้สึกความหรูหรา โอ่อ่า มีราคา สูงค่า สิ่งสำคัญ ความเจริญรุ่งเรือง ความสุข ความมั่งคั่ง ความร่ำรวย การแผ่กระจาย

โพสท์ใน วิชาศิลปะ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

เรขาตณิตวิเคราะห์

เรขาคณิตวิเคราะห์ (Analytic Geometry) เป็นคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่กล่าวถึงจุดบนระนาบ (point and plane)

เรขาคณิตวิเคราะห์จึงแบ่งได้ดังนี้

1. ระบบพิกัดฉาก ประกอบด้วยเส้นตรง สองเส้นเส้นหนึ่งอยู่ในแนวนอน เรียกว่า แกน x อีกเส้นหนึ่งอยู่ในแนวตั้งเรียกว่าแกน y ทั้งสองเส้นนี้ตัดกันเป็นมุมฉาก และเรียกจุดตัดว่า จุดกำเนิด y ควอดรันต์ที่ II ควอดรันต์ที่ I (-,+) (+,+) x ควอดรันต์ที่ III ควอดรันต์ที่ IV (-,-) (+,-) 2. การหาระยะทางระหว่างจุด 2 จุด ถ้า P(x1,y1) และ P(x2,y2) เป็นจุด 2 จุดในระนาบ ระยะทางระหว่างจุด P และจุด Q หาได้โดย

PQ =  (x2-x1)2 + (y2-y1) 2

3. จุดกึ่งกลางระหว่างสองจุด ถ้า P(x1,y1) และ P(x2,y2) เป็นจุด 2 จุดในระนาบและให้ M(x,y) เป็นจุดกึ่งกลางระหว่าง P และ Q เราสามารถหาจุด M ได้ดังนี้

จุดกึ่งกลาง M คือ x1+ x2 , y1+ y2 2 2

4. สมการของเส้นตรง Q(x2,y2) 4.1 ความชัน(slop)=tan=m

Q(x1,y1)

ความชัน = m = y2 – y1 x2 – x1

4.2 สมการเส้นตรงที่ผ่านจุด (x1,y1) และมีความชันเท่ากับ m คือ

y – y1 = m(x – x1)

4.3 สมการเส้นตรงที่มี y -intercept เท่ากับ b และมีความชันเท่ากับ m คือ

y = mx + b

4.4 จาก 4.2 และ 4.3 สามารถเขียนสมการเส้นตรงใหม่ในรูปของ

Ax + By + C = 0

ตัวอย่าง จงหาความชันของเส้นตรง 3x + 4y – 5 = 0 วิธีทำ 4y = -3x + 5 y = -(-3/4)x +(5/4)  ความชันคือ -3/4 4.5 เส้นตรง l1 ขนานกับ l2 ก็ต่อเมื่อ m1=m2 เส้นตรง l1 ตั้งฉากกับ l2 ก็ต่อเมื่อ m1m2 = -1

5. การหาระยะทางจากจุดไปยังเส้นตรง กำหนดให้ l เป็นเส้นตรงที่มีสมการ Ax + By + C = 0 และ P(x1,y1) เป็นที่อยู่นอกเส้น l ดังรูป

P(x1,y1) d l Ax + By + C = 0

ถ้า d เป็นระยะทางจากจุด P ไปยังเส้นตรง l

d = Ax1 + By1 + C  A2 + B2

โพสท์ใน วิชาคณิตศาสตร์ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

Intime and Ontime

What is the difference between on time and in time?”
“What is the difference between in the end and at the end?”
Michael Swan’s excellent Practical English Usage (Oxford University Press), provides a succinct answer to both of these questions:
“On time = at the planned time; neither late nor early:
Peter wants the meeting to start exactly on time.
In time = with enough time to spare; before the last moment:
He would have died if they hadn’t got him to the hospital in time.” p. 450
“In the end = finally, after a long time:
In the end, I got a visa for Russia.
At the end = at the point where something stops:
I think the film’s a bit weak at the end. p. 450

โพสท์ใน วิชาภาษาอังกฤษ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

คำซ้อน

คำซ้อน คือ คำมูลที่นำมาซ้อนกันอาจเป็นนาม กริยา หรือวิเศษณ์ก็ได้ คำมูลเหล่านี้ต้องประกอบกับคำชนิดเดียวกัน คือเป็นคำนามด้วยกัน หรือกริยาด้วยกัน และทำหน้าที่ได้ต่าง ๆ เช่นเดียวกับชนิดของคำมูลที่นำมาซ้อนกันเช่น
นามกับนาม เช่น เนื้อตัว เรือแพ ลูกหลาน เสื่อสาด หูตา

กริยากับกริยา เช่น ทดแทน ชมเชย เรียกร้อง ว่ากล่าว สั่งสอน

วิเศษณ์กับวิเศษณ์ เช่น เข้มงวด แข็งแกร่ง ฉับพลัน ซีดเซียว เด็ดขาด

คำมูลที่นำมาซ้อนกันอาจเป็นคำมาจากภาษาใดก็ได้ อาจเป็นคำไทยกับคำไทย คำไทยกับคำที่มาจากภาษาอื่น หรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นทั้งหมด เช่น
คำไทยกับคำไทย เช่น ผักปลา เลียบเคียง อ่อนนุ่ม อ้อนวอน
คำไทยกับคำเขมร เช่น แบบฉบับ พงไพร หัวสมอง แจ่มจรัส
คำไทยกับคำบาลีสันสกฤต เช่น เขตแดน โชคลาง พรรคพวก ศรีสง่า หมู่คณะ
คำเขมรกับคำเขมร เช่น ขจัดขจาย เฉลิมฉลอง
คำบาลีสันสกฤตกับคำบาลีสันสกฤต เช่น สรงสนาน ตรัสประภาษ เสบียงอาหาร
คำมูลที่นำมาซ้อนกัน ส่วนมากเป็นคำมูล 2 คำ ถ้ามากกว่านั้นมักเป็นคำมูล 4 คำ หรือ 6 คำ
ตัวอย่าง

คำมูล 2 คำ เช่น ข้าวปลา นิ่มนวล ปากคอ ฟ้าฝน หน้าตา
คำมูล 4 คำ อาจมีสัมผัสกลางหรือซ้ำเสียง เช่น ได้หน้าลืมหลัง กู้หนี้ยืมสิน ยากดีมีจนมากหมอมากความ ไปวัดไปวา ต้อนรับขับสู้
คำมูล 6 คำ มักมีสัมผัสระหว่างกลาง เช่น คดในข้องดในกระดูก จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน
คำซ้อนมี 2 ประเภท คือ

คำซ้อนเพื่อความหมาย เราเน้นความหมายเป็นหลัก เช่น ใหญ่โต เล็กน้อย กว้างขวาง
คำซ้อนเพื่อเสียง เราเน้นเสียงเป็นเกณฑ์ มักจะมีเสียงไปด้วยกันได้ เช่น เซ้าซี้ จู้จี้ โยเย โดกเดก งุ่นง่าน ซมซาน ฯลฯ

โพสท์ใน วิชาภาษาไทย | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น